Sunday, 19 June 2016
การยอมรับความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต แต่การยอมแพ้และย่ำอยู่กับที่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไข คือการหยุดการเปลี่ยนแปลง และเราก็จะเป็นเหมือนเดิม นอกเสียจากว่า เราไม่ได้รักที่จะทำงานด้านนี้ มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะโกหกตัวเองต่อไป
#บทความจากรุ่นสู่รุ่น
โดย น.ส.อรอุไร วิศิษฐ์ชัยชาญ (JR.MEW)
นักศึกษาฝึกงาน JR.SKY 01/2016
เป็นผู้ช่วยผู้กำกับอย่างไรให้ถูกใจผู้กำกับ...?
จวนเวลาจะสิ้นสุดการฝึกงาน ก็พบว่าเราสามารถตอบคำถามนี้ได้แล้ว
ไม่มีทางเลยที่เราจะทำอะไรถูกใจใครไปเสียหมด นั่นเพราะเราเอาใจเราเป็นที่ตั้ง เรามีเหตุผลของเรา เราอ้างความรู้ของเรา เราเชื่อประสบการณ์ของเรา และเมื่อถึงเวลาที่เราต้องมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับทั้งที่ไม่เคยคิดมาก่อน
สิ่งแรกที่ทำก็ไม่ต่างกับมนุษย์ Gen Y อีกหลายคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตหาข้อมูลแทนห้องสมุด แทนการถามผู้รู้ในวงการ แทนการปรึกษาใครสักคน เพราะโลกในอินเตอร์เน็ตทำให้เราไม่ต้องเผชิญหน้า แต่ตำแหน่งที่เรากำลังเข้ามาสัมผัส กลับพบคำตอบแล้วว่า...
นี่คืองานที่ต้องเผชิญหน้ากับผู้กำกับ และทีมงานทั้งกองถ่าย! หากจะถามว่าทำงานแบบไหนให้ผู้กำกับถูกใจ ก็ต้องเริ่มที่การ กำกับใจของตัวเองเสียก่อน...
การกำกับใจของตัวเองไม่ยากอย่างที่คิด เพียงไม่กี่วันแรกที่เริ่มงานเราก็เข้ากับสังคมใหม่ได้ ทั้งที่จริงๆ เราก็เหมือนคนทั่วๆ ไป ที่กลัวเข้าสังคมไม่ได้ กลัวเจอคนที่ยากจะทำความรู้จัก กลัวเจออคติตั้งแต่วันเริ่มงาน แต่เมื่อเดินเข้ามาที่นี่จิตใจมันก็โล่งขึ้นจากความกลัวไร้สาระพวกนั้น เรามองว่าทุกคนมีความเท่ากัน มองมารยาทเป็นเรื่องสำคัญ มองโต๊ะทำงานตรงหน้าว่ามีอะไรที่ต้องเรียนรู้อีกมาก และความอ่อนน้อมทำให้คนรอบข้างเราหลายๆ คนก็พร้อมจะเป็นครูให้กับเรา เท่านั้นแหละ...
จุดเริ่มต้นมันก็ดูง่ายไปหมด การปล่อยวางใจให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหม่ทำได้ไม่ยาก รอยยิ้มไม่ยากเกินกว่าจะมอบให้เพื่อนที่นั่งข้างๆ ปากไม่หนักเมื่อคิดจะทักทายใครสักคนที่เปิดประตูเข้ามา เสมอต้นเสมอปลายกับสิ่งเหล่านี้ มันก็ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น แล้วความสุขในที่ทำงานนี่แหละที่จะเป็นแรงผลักดันให้งานออกมาดี
เมื่อการทำงานที่แสนวุ่นวายได้เริ่มต้นขึ้นใน 1 เดือนข้างหน้ามีงานถ่ายหนังโฆษณาติดต่อกัน 3 กองถ่ายเป็นอย่างน้อย เรา และเพื่อนนักศึกษาฝึกงานทุกคน ทุกแผนก ต่างก็มีหน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ในฐานะนักศึกษาฝึกงานผู้ช่วยผู้กำกับที่ได้รับมอบหมายให้รับ Job โดยตรง มันเป็นความกดดันที่บังคับว่า ถ้าทำออกมาได้ไม่ดี ก็อย่าทำเลยดีกว่า เพราะงานที่ออกมาไม่ดี ไม่ได้หมายถึงว่าเราโง่หรือฉลาดอย่างเดียว แต่หมายถึงความใส่ใจ และเราได้ทำเต็มที่สุดความสามารถแล้วหรือเปล่า
ผู้กำกับแต่ละคนมี Lifestyle แตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้กำกับต้องการกำกับหนังของเขาออกมาให้ดีที่สุดด้วยวิธีของตัวเอง และเขาสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยผู้กำกับ เพราะฉะนั้น การเป็นผู้ช่วยผู้กำกับที่ดีและเก่ง คือการเป็นผู้แบ่งเบาภาระ ไม่ใช่เพิ่มภาระ
เราต้องเรียนรู้วิธีการทำงาน กระบวนการคิด ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ไวพอที่จะเป็นงานให้เร็ว รอบคอบทุกรายละเอียด เรียนรู้ที่จะซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และอย่ายอมแพ้เมื่อเรารู้สึกว่าทำเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะทุกคนที่เก่งกว่า พวกเขามีมูลค่าของเวลาและประสบการณ์มากกว่าเรา
การยอมรับความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต แต่การยอมแพ้และย่ำอยู่กับที่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไข คือการหยุดการเปลี่ยนแปลง และเราก็จะเป็นเหมือนเดิม นอกเสียจากว่า เราไม่ได้รักที่จะทำงานด้านนี้ มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะโกหกตัวเองต่อไป
ท้ายที่สุด ความใส่ใจนี่แหละสำคัญการทำงานไม่ว่าจะเป็นงานผู้ช่วยผู้กำกับ,Producer, Casting, Costume, Art, Post ทุกๆ ฝ่ายต้องร่วมกับผู้กำกับ ผลิตหนังโฆษณาชิ้นหนึ่งขึ้นมาอย่างขาดใครไปไม่ได้ ความใส่ใจในงานทำให้งานทุกชิ้นออกมาดีแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัย
การให้กำลังใจแม่ครัว, แม่บ้าน การให้ความเคารพยามของบริษัท ก็เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่ไม่ควรมองข้าม
งานผู้ช่วยผู้กำกับจากประสบการณ์ที่ได้รับมาที่นี่ตลอด 4 เดือน เป็นเหมือนคำสอนของพ่อคนหนึ่งที่สั่งเสียก่อนส่งลูกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเอง
ขอบคุณครอบครัวสกายในมุมดีๆ มากมายที่มอบให้มาเป็นความทรงจำ ขอบคุณสำหรับทุกอย่างค่ะ
Written by JR.MEW / Date: 27-04-2016
นักศึกษาฝึกงาน JR.SKY 01/2016
เป็นผู้ช่วยผู้กำกับอย่างไรให้ถูกใจผู้กำกับ...?
จวนเวลาจะสิ้นสุดการฝึกงาน ก็พบว่าเราสามารถตอบคำถามนี้ได้แล้ว
ไม่มีทางเลยที่เราจะทำอะไรถูกใจใครไปเสียหมด นั่นเพราะเราเอาใจเราเป็นที่ตั้ง เรามีเหตุผลของเรา เราอ้างความรู้ของเรา เราเชื่อประสบการณ์ของเรา และเมื่อถึงเวลาที่เราต้องมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับทั้งที่ไม่เคยคิดมาก่อน
สิ่งแรกที่ทำก็ไม่ต่างกับมนุษย์ Gen Y อีกหลายคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตหาข้อมูลแทนห้องสมุด แทนการถามผู้รู้ในวงการ แทนการปรึกษาใครสักคน เพราะโลกในอินเตอร์เน็ตทำให้เราไม่ต้องเผชิญหน้า แต่ตำแหน่งที่เรากำลังเข้ามาสัมผัส กลับพบคำตอบแล้วว่า...
นี่คืองานที่ต้องเผชิญหน้ากับผู้กำกับ และทีมงานทั้งกองถ่าย! หากจะถามว่าทำงานแบบไหนให้ผู้กำกับถูกใจ ก็ต้องเริ่มที่การ กำกับใจของตัวเองเสียก่อน...
การกำกับใจของตัวเองไม่ยากอย่างที่คิด เพียงไม่กี่วันแรกที่เริ่มงานเราก็เข้ากับสังคมใหม่ได้ ทั้งที่จริงๆ เราก็เหมือนคนทั่วๆ ไป ที่กลัวเข้าสังคมไม่ได้ กลัวเจอคนที่ยากจะทำความรู้จัก กลัวเจออคติตั้งแต่วันเริ่มงาน แต่เมื่อเดินเข้ามาที่นี่จิตใจมันก็โล่งขึ้นจากความกลัวไร้สาระพวกนั้น เรามองว่าทุกคนมีความเท่ากัน มองมารยาทเป็นเรื่องสำคัญ มองโต๊ะทำงานตรงหน้าว่ามีอะไรที่ต้องเรียนรู้อีกมาก และความอ่อนน้อมทำให้คนรอบข้างเราหลายๆ คนก็พร้อมจะเป็นครูให้กับเรา เท่านั้นแหละ...
จุดเริ่มต้นมันก็ดูง่ายไปหมด การปล่อยวางใจให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหม่ทำได้ไม่ยาก รอยยิ้มไม่ยากเกินกว่าจะมอบให้เพื่อนที่นั่งข้างๆ ปากไม่หนักเมื่อคิดจะทักทายใครสักคนที่เปิดประตูเข้ามา เสมอต้นเสมอปลายกับสิ่งเหล่านี้ มันก็ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น แล้วความสุขในที่ทำงานนี่แหละที่จะเป็นแรงผลักดันให้งานออกมาดี
เมื่อการทำงานที่แสนวุ่นวายได้เริ่มต้นขึ้นใน 1 เดือนข้างหน้ามีงานถ่ายหนังโฆษณาติดต่อกัน 3 กองถ่ายเป็นอย่างน้อย เรา และเพื่อนนักศึกษาฝึกงานทุกคน ทุกแผนก ต่างก็มีหน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ในฐานะนักศึกษาฝึกงานผู้ช่วยผู้กำกับที่ได้รับมอบหมายให้รับ Job โดยตรง มันเป็นความกดดันที่บังคับว่า ถ้าทำออกมาได้ไม่ดี ก็อย่าทำเลยดีกว่า เพราะงานที่ออกมาไม่ดี ไม่ได้หมายถึงว่าเราโง่หรือฉลาดอย่างเดียว แต่หมายถึงความใส่ใจ และเราได้ทำเต็มที่สุดความสามารถแล้วหรือเปล่า
ผู้กำกับแต่ละคนมี Lifestyle แตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้กำกับต้องการกำกับหนังของเขาออกมาให้ดีที่สุดด้วยวิธีของตัวเอง และเขาสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยผู้กำกับ เพราะฉะนั้น การเป็นผู้ช่วยผู้กำกับที่ดีและเก่ง คือการเป็นผู้แบ่งเบาภาระ ไม่ใช่เพิ่มภาระ
เราต้องเรียนรู้วิธีการทำงาน กระบวนการคิด ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ไวพอที่จะเป็นงานให้เร็ว รอบคอบทุกรายละเอียด เรียนรู้ที่จะซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และอย่ายอมแพ้เมื่อเรารู้สึกว่าทำเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะทุกคนที่เก่งกว่า พวกเขามีมูลค่าของเวลาและประสบการณ์มากกว่าเรา
การยอมรับความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต แต่การยอมแพ้และย่ำอยู่กับที่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไข คือการหยุดการเปลี่ยนแปลง และเราก็จะเป็นเหมือนเดิม นอกเสียจากว่า เราไม่ได้รักที่จะทำงานด้านนี้ มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะโกหกตัวเองต่อไป
ท้ายที่สุด ความใส่ใจนี่แหละสำคัญการทำงานไม่ว่าจะเป็นงานผู้ช่วยผู้กำกับ,Producer, Casting, Costume, Art, Post ทุกๆ ฝ่ายต้องร่วมกับผู้กำกับ ผลิตหนังโฆษณาชิ้นหนึ่งขึ้นมาอย่างขาดใครไปไม่ได้ ความใส่ใจในงานทำให้งานทุกชิ้นออกมาดีแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัย
การให้กำลังใจแม่ครัว, แม่บ้าน การให้ความเคารพยามของบริษัท ก็เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่ไม่ควรมองข้าม
งานผู้ช่วยผู้กำกับจากประสบการณ์ที่ได้รับมาที่นี่ตลอด 4 เดือน เป็นเหมือนคำสอนของพ่อคนหนึ่งที่สั่งเสียก่อนส่งลูกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเอง
ขอบคุณครอบครัวสกายในมุมดีๆ มากมายที่มอบให้มาเป็นความทรงจำ ขอบคุณสำหรับทุกอย่างค่ะ
Written by JR.MEW / Date: 27-04-2016